วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ตอนที่ 6 เซ็นเซอร์บนบอร์ด KidBright มีอะไรบ้าง

     สวัสดีอีกครั้งจ้ะทุกคน วันนี้เรามาดูกันซิว่าบอร์ด KidBright มีเซ็นเซอร์อะไรมาให้บ้าง เอ้าทุกคนหยิบบอร์ดมาดูกันเร้ววว



    อันที่วง ๆ ไว้คือเซ็นเซอร์ที่เค้าให้มามี 2 อัน อันซ้ายมือเป็นชิปวัดอุณหภูมิสังเกตเป็นรูปปรอทที่มีลูกศรชี้ไหมเอ่ย ส่วนอันทางขวาเป็นเซ็นเซอร์วัดแสง (หรือเรียกว่า LDR) มีรูปสัญลักษณ์ที่ผู้เขียนดูเป็นรูปพระอาทิตย์คว่ำแต่บางคนอาจจะมองเป็นรูปหลอดไฟ (แหะ ๆ มันก็มีแสงออกมาเหมือนกันแหละเนาะ) เราสามารถสั่งให้เซ็นเซอร์อ่านค่าและแสดงผลบนจอ LED 16x8 ด้วยคำสั่งง่าย ๆ เหมือนกันทั้งสองเซ็นเซอร์เลย ดูภาพด้านล่างจ้ะ


    จากโค้ดที่เขียนสังเกตว่า Forever ก็มาอีกแล้วเป็นบล็อกพื้นฐานที่ต้องมีในทุกโปรแกรมเพราะต้องการให้บอร์ดทำงานไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ในการอ่านค่าแสงภายในคำสั่ง Forever จะใช้บล็อก LED scroll ต่อเข้ากับ Light level sensor คือให้ค่าระดับความเข้มของแสงแสดงออกที่จอแสดงผล แล้วตามด้วย Delay 3 วินาทีเพื่อหน่วงเวลาให้จอแสดงค่าให้ครบไม่งั้นเราจะอ่านค่าไม่ได้ เมื่อเปลี่ยนเป็นอ่านค่าอุณหภูมิก็แต่เปลี่ยนจาก Light sensor เป็น Temperature sensor

    บางคนอาจสงสัยว่าเราจะใช้ Delay กี่วินาทีเพื่อให้จอแสดงผลแสดงค่าได้ครบถ้วนดีนะ อันนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวอักษรที่ต้องการแสดงผล ถ้าตัวอักษรมีหลายตัวก็จะใช้เวลา Delay เยอะหน่อย ลองปรับแต่งดูว่าจะเอาเท่าไหร่ 

    แล้วถ้าไม่อยากปรับล่ะ แนะนำให้เปลี่ยนคำสั่ง Delay เป็นคำสั่ง Wait LED matrix ready จ้ะก็จะได้ผลเหมือนกันเด๊ะ โดยไม่ต้องไล่หาเวลา Delay ดูตามภาพด้านล่าง


    คำสั่ง Wait LED matrix ready ใช้สำหรับรอให้จอแสดงผลแอลอีดีแสดงค่าให้ครบก่อนแล้วค่อยทำงานลำดับถัดไป ในที่นี้คือการวนกลับไปด้านบนแค่นี้ก็ไม่ต้องใส่ค่าเวลาแล้ว ลำดับต่อไปเรามาลองเล่นแค่เซ็นเซอร์วัดแสงก่อนนะการวัดแสงจะแสดงค่าเป็นเปอร์เซนต์จาก 0 ถึง 100 เรียงระดับจากมืดที่สุดไปสว่างที่สุด ให้เลือกเฉพาะชุดคำสั่งที่มี Light Sensor มาแฟลชลงบอร์ด ตอนนี้ลองเอานิ้วมือมาบังแสงหรือปิดเซ็นเซอร์ดูแล้วสังเกตค่าที่อ่านได้ว่าเปลี่ยนไปไหม ดูวิดีโอว่าทำยังไงตั้งแต่ต้นเลยเนาะ




    เซ็นเซอร์แสงมีประโยชน์มากและสามารถประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ควบคุมการปิดเปิดไฟในอาคาร ถ้าแสงน้อยให้เปิดไฟหรือแสงมากให้ปิดไฟอัตโนมัติ  ใช้ตรวจวัดปริมาณแสงในการปลูกพืชแบบสมาร์ทฟาร์มในโรงเรือน หรือใช้เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม เป็นต้น 

    ตอนหน้าเราลองมาจำลองสถานการณ์การใช้งานกัน สมมติใช้เซ็นเซอร์แสงวัดค่าแสงในห้อง ถ้าแสงน้อยให้เปิดไฟ ถ้าแสงมากให้ปิดไฟ งานนี้ต้องใช้ if...do...อีกแล้ว ติดตามตอนหน้านะจ๊ะ



#Kidbright #Kidbright คืออะไร #Kidbright ทำอะไรได้บ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอนที่ 11 KidBright ต่อ Output ควบคุมพัดลมตามเวลาและอุณหภูมิผ่านรีเลย์

     เมื่อเรามีบอร์ดควบคุมอย่าง KidBright และมีรีเลย์พร้อมกับแหล่งจ่ายไฟภายนอกเราก็สามารถควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ขนาดใหญ่ขึ้นได้      บอกเสร...